รีวิว Carrie

รีวิว Carrie

รีวิว Carrie

รีวิว Carrie

ดูหนังเถื่อน หนังสยองขวัญ Carrie สาวสยอง เป็นหนังที่ถูกนำมา Remake ใหม่ แถมดูเหมือนว่าหนังเรื่องนี้จะถูกนำมาสร้างใหม่ซ้ำแล้วซ้ำเล่าเพื่อบอกเล่าความสยองของเรื่องราวหนังที่ดูเหมือนจะกลายเป็นตำนานไปเสียแล้วส่วนหนังสยองขวัญ Carrie สาวสยอง ที่กำลังจะนำมาพูดถึงในวันนี้จะมีความน่าสนใจเพียงใดนั้น ลองมาติดตามอ่านจากบทความชิ้นนี้กันได้เลย รีวิว Carrie ดูหนังออนไลน์ ดูหนังฟรี รีวิวหนังสนุก

หนังสยองขวัญ Carrie สาวสยอง เป็นเรื่องของเด็กสาวขี้อาย ไม่กล้าแดงออกและอ่อนต่อโลก ผู้มีแม่ที่คลั่งในศาสนาและมีอาการทางจิตที่ไม่ค่อยปกตินัก สิ่งเหล่านี้ทำให้เธอกลายเป็นตัวประหลาดที่ไม่ค่อยมีคนอยากสุงสิงด้วยสักเท่าไหร่ และกลายมาเป็นตัวตลกประจำโรงเรียนที่ถูกกลั่นแกล้ง จนกระทั่งวันหนึ่งเมื่อความเลวร้ายถึงขีดสุด เธอก็ปลดปล่อยทุกอย่างที่เก็บกักจนกลายมาเป็นความสยดสยอง

ก่อนอื่นคงต้องบอกว่าตัวละครเอกน่ารักมาก และนักแสดงก็ได้ถ่ายทอดตัวตนของหญิงสาวไร้เดียงสาที่ไร้ความเชื่อมั่นในตัวเองอย่างสิ้นเชิงออกมาในได้อย่างยอดเยี่ยม เมื่อเธอถูกรังแกทำให้สามารถสร้างอารมณ์ร่วมให้กับคนดูได้อย่างยอดเยี่ยม

เนื้อหาถือว่าดำเนินเรื่องช้า ๆ แต่ก็ไม่ได้น่าเบื่อ ผู้กำกับสร้างความรู้สึกอยากให้ติดตามเรื่องราวปมของตัวละครและพัฒนาตัวเองไปทีละขั้นอย่างมมั่นคง จนถึงจุดที่ดีที่สุดของเรื่องก็สามารถสร้างความน่าตื่นเต้นมากขึ้น น่ากลัวและสีหน้าของตัวละครเอกที่น่าสยอง แต่กลับสมจริงทั้งสีหน้าแววตาที่แสดงได้เห็นว่าเธอไม่อยากที่จะทำร้ายใคร ถึงอย่างนั้นก็ไม่สามารถหยุดยั้งตัวเองได้ และเรื่องราวยังเต็มไปด้วยความคาดหวัง ความหวาดกลัว ทั้งสองสิ่งนี้สามารถที่ผลักดันผู้คนให้ไปสู่ปลายทางแห่งขอบเหวได้อย่างง่ายดาย

รีวิว Carrie

สำหรับส่วนด้อย มีการเปิดเผยปูมหลังของตัวละครเอกเพียงเล็กน้อย แต่นั้นก็ไม่ได้เพียงพอที่จะอธิบายว่าอะไรที่ทำให้เธอกลายมาเป็นบางสิ่งที่เหนือจินตนาการ และถึงขนาดทำให้แม่ของเธอจมอยู่กับความคลั่งไคล้ทางศาสนาจนกระทั่งกลายเป็นความบ้าคลั่งไปในที่สุด

บางส่วนของเนื้อหาเองก็ไม่ค่อยสมเหตุผล แน่นอนว่าการกระทำของตัวละครบางคนที่อยากทำให้เรื่องราวดีขึ้นแต่อาจใช้วิธีการที่ผิดไปสักหน่อย หากพลาดไปอาจสร้างแผลใจบาดลึกให้กับตัวละครเอกมากขึ้นก็ดูไม่ค่อยสมจริงนัก และ CGI ของเรื่องดูค่อนข้างหลอกตาพอสมควร แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในระดับที่รับได้

สำหรับผู้เขียนหนังสยองขวัญ Carrie สาวสยอง ถือว่าสนุกมากกว่าที่คิด โดยเฉพาะในส่วนของการพัฒนาตัวละครที่ทำออกมาได้อย่างไม่ขัดตา ก่อนที่จะนำพาไปสู่ความสยดสยองอย่างเป็นธรรมชาติ ทำให้หนังสยองขวัญ Carrie สาวสยอง ถือว่าเป็นหนังในหนังสยองที่ดี เหมาะกับคนที่ค่อนข้างที่จะมีความอดทนสูง เพราะกว่าหนังเรื่องนี้จะแสดงความน่าสนใจอย่างครบถ้วนก็กินเวลาไปกว่า 70% ของเรื่องราวทั้งหมด

Kimberly Peirce ผู้กำกับสาวจากเรื่อง ‘Boys Don’t Cry’ หยิบมาปัดฝุ่นอีกครั้งในวันที่โลกแห่งสเปเชี่ยลเอฟเฟกต์และเทคนิคการถ่ายทำก้าวล้ำไปมาก เรื่องราวของสาวน้อยขี้อายผู้ซึ่งมีพลังจิตที่ได้รับผ่านทางลายเลือด ที่ถูกบีบคั้นจนสร้างเหตุการณ์สยองขึ้นมาในที่สุด สร้างจากนิยายสุดคลาสสิกของ Stephen King มันเคยเป็นหนังสยองขวัญขึ้นหิ้งในปี 1976

ในภาคนี้ ผู้รับบทเป็นนางเอกพลังจิต แคร์รี่ ไวท์ คือ Chloë Grace Moretz สาวน้อย ‘Kick-Ass’ ทั้งสองภาคนั่นเอง โดยมี Julianne Moore รับบทเป็นแม่ของเธอ และมี Portia Doubleday และ Gabriella Wilde ร่วมรับบทบาทเพื่อนที่จะมีผลสำคัญต่อพฤติกรรมของสาวแคร์รี่

หนังทำให้เราได้รู้จักกับแครี่ตั้งแต่กำเนิดซึ่งชีวิตเธอก็เริ่มต้นความสยองตั้งแต่จุดนั้นแล้ว ก่อนที่โตมาจะเริ่มรู้ว่าตัวเองมีความสามารถด้านการย้ายสิ่งของด้วยพลังจิต และความเป็นเด็กขี้อายก็ทำให้เธออยู่ในสภาวะที่บีบคั้นจนต้องระเบิดมันออกมาในที่สุดสิ่งที่ผมรู้สึกจากหนังเรื่องนี้ คงเป็นจุดที่เขาทำให้เด็กสาวขี้อายไร้เดียงสาผู้อาภัพคนหนึ่ง ค่อยๆ เปลี่ยนแปลงจากเด็กสาวผู้ยุ่ง กลายเป็นเด็กสาวผมยาวสลวยหน้าตาจิ้มลิ้ม เธอค่อยๆ ดูดีขึ้นเรื่อยๆ Chloë Grace Moretz ไม่ได้เป็นคนสวยอะไรมากนัก แต่เธอก็เป็นสาวที่ยิ้มน่ารัก สำหรับคะเเนนเรื่องนี้ผมให้ที่ 10/10 เลยนะครับเพราะผมชอบมาก

รีวิว Carrie

หากเทียบกันแล้วฉบับดั้งเดิมของ Brian De Palma สยองและดูขลังกว่า แต่สำหรับฉบับใหม่นี่ผมชอบที่การเล่าเรื่องครับ มันชวนติดตามดี และชอบการแจกแจงคาแรคเตอร์ตัวละคร ดูแล้วเก็ทปูมเก็มปมของแต่ละคน โดยเฉพาะบทของซู (Gabriella Wilde) ที่ฉบับก่อนดูคลุมเครือ แต่มาฉบับนี้เข้าใจเจตนาของเธอเลยครับว่าเพราะอะไรเธอถึงตัดสินใจให้แฟนไปเดตกับแครี่ (Chloë Grace Moretz)

ถ้ามองในมุมหนังสยอง ฉบับนี้อาจไม่ตอบโจทย์เท่าไรนัก แต่หากมองในแง่หนังวัยรุ่น ผมว่าน่าพอใจครับ เพราะแก่นจริงๆ ของ Carrie (ตั้งแต่สมัยนิยาย) คือชีวิตวัสาวน้อยเชยๆ ที่เป็นตัวตลกของโรงเรียนและโดนแกล้งไม่เว้นวัน ซึ่งก็สะท้อนวิถีวัยรุ่นอเมริกัน สะท้อนความเหลื่อมล้ำในโรงเรียน ที่ไม่ใช่มีแค่เด็กรวย Vs. เด็กจนเท่านั้น แต่ยังมีเด็กใน Vs. นอกกระแส, เด็กเก่ง Vs. เกเร, เด็กเจอตัวตน Vs เด็กสับสนในอัตลักษณ์ ฯลฯ

นอกจากนี้ยังสะท้อนเรื่องครอบครัว, ความเชื่อทางศาสนา ที่หากเชื่อมากเกินหรือเยอะเกินก็กลายเป็นพิษได้ แบบที่แม่ของแครี่ (Julianne Moore) เป็นจนส่งผลร้ายมาถึงแครี่ด้วย

แต่ไม่ว่าจะฉบับนิยายหรือหนังฉบับไหนก็ล้วนสอนวัยรุ่นครับ ว่าสร้างเพื่อนสร้างความเข้าใจกัน ดีกว่าจับกลุ่มกันแบ่งแยกหาเรื่องกัน มันอาจสนุกครับการแกล้งกันหรือการหาเรื่องกดผู้อื่นเพื่อทำให้ตัวเองดูดีกว่า แต่การได้เพื่อนเพิ่มหรือได้คนเข้าใจเราเพิ่มน่ะ มันดีกว่ากันเยอะ

หากเทียบกันแล้วฉบับดั้งเดิมของ Brian De Palma สยองและดูขลังกว่า แต่สำหรับฉบับใหม่นี่ผมชอบที่การเล่าเรื่องครับ มันชวนติดตามดี และชอบการแจกแจงคาแรคเตอร์ตัวละคร ดูแล้วเก็ทปูมเก็มปมของแต่ละคน โดยเฉพาะบทของซู (Gabriella Wilde) ที่ฉบับก่อนดูคลุมเครือ แต่มาฉบับนี้เข้าใจเจตนาของเธอเลยครับว่าเพราะอะไรเธอถึงตัดสินใจให้แฟนไปเดตกับแครี่ (Chloë Grace Moretz)

ถ้ามองในมุมหนังสยอง ฉบับนี้อาจไม่ตอบโจทย์เท่าไรนัก แต่หากมองในแง่หนังวัยรุ่น ผมว่าน่าพอใจครับ เพราะแก่นจริงๆ ของ Carrie (ตั้งแต่สมัยนิยาย) คือชีวิตวัสาวน้อยเชยๆ ที่เป็นตัวตลกของโรงเรียนและโดนแกล้งไม่เว้นวัน ซึ่งก็สะท้อนวิถีวัยรุ่นอเมริกัน สะท้อนความเหลื่อมล้ำในโรงเรียน ที่ไม่ใช่มีแค่เด็กรวย Vs. เด็กจนเท่านั้น แต่ยังมีเด็กใน Vs. นอกกระแส, เด็กเก่ง Vs. เกเร, เด็กเจอตัวตน Vs เด็กสับสนในอัตลักษณ์ ฯลฯ

นอกจากนี้ยังสะท้อนเรื่องครอบครัว, ความเชื่อทางศาสนา ที่หากเชื่อมากเกินหรือเยอะเกินก็กลายเป็นพิษได้ แบบที่แม่ของแครี่ (Julianne Moore) เป็นจนส่งผลร้ายมาถึงแครี่ด้วย

แต่ไม่ว่าจะฉบับนิยายหรือหนังฉบับไหนก็ล้วนสอนวัยรุ่นครับ ว่าสร้างเพื่อนสร้างความเข้าใจกัน ดีกว่าจับกลุ่มกันแบ่งแยกหาเรื่องกัน มันอาจสนุกครับการแกล้งกันหรือการหาเรื่องกดผู้อื่นเพื่อทำให้ตัวเองดูดีกว่า แต่การได้เพื่อนเพิ่มหรือได้คนเข้าใจเราเพิ่มน่ะ มันดีกว่ากันเยอะ

ดัดแปลงมาจากนิยายของ Stephen King หรือราชาเขย่าขวัญที่เขียนหนังสือสะท้อนความหวาดกลัวจากใจมนุษย์ในแบบไม่ซับซ้อนแต่เกินคาดเดากับด้านมืดในใจที่อยู่นอกเหนือสิ่งเหนือธรรมชาติ และนี้ก็เป็นหนังเรื่องแรกที่ดัดแปลงมาจากหนังสือของเขาก่อนภายหลังจะมีการดัดแปลงมาเป็นหนังยาวเป็นหางว่าว แต่ถ้าพูดถึงงานที่มีคุณภาพน่าจับตามองจริงๆต้องเริ่มที่เรื่องนี้ที่ดัดแปลงออกมาเป็นหนังได้อย่างแยบยลและไม่น่าเบื่อแถมยังทรงพลังอีกต่างหาก

และเรื่องของเรื่องก็มาจากจุดเริ่มต้นของเด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่ท่าทางขี้กลัว อ่อนแอ และไร้เดียงสาต่อโลกภายนอกราวกับคนที่ถูกมองข้ามเสมอและยังเป็นตัวตลกในสายเพื่อนๆอย่างปฏิเสธไม่ได้ และเธอคนนั้นชื่อแครี่ ไวท์ (Sissy Spacek) ที่ถูกกีดกั้นจากทุกสิ่งจากมาร์กาเรต (Piper Laurie) แม่ที่คลั่งศาสนาจนมองสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นบาปไปเสียเกือบหมด ซึ่งแม่ของแครี่คือต้นเหตุในหลายๆเรื่องที่ไม่ยอมบอกอะไรเลยและวันๆก็ทรมานลูกให้ท่องสวดมนต์ในห้องแคบเชิงการสารภาพบาป

แต่แล้วเมื่อเวลานั้นมาถึงก็กลายเป็นเรื่องแย่ๆเกิดขึ้นกับตัวแครี่เมื่อระหว่างอาบน้ำหลังเล่นบอลเลย์เสร็จก็เกิดประจำเดือนอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัว ที่สำคัญคือมันไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับผู้หญิงทั่วไป ทว่ากับแครี่นั้นไม่รู้ว่าอะไรคือประจำเดือนมาก่อนเนื่องจากแม่ของเธอไม่เคยบอกถึงมาก่อนเพราะเรื่องแบบนี้คิดว่าคนในครอบครัวคงรู้กันอยู่แล้วเมื่อลูกโตเป็นสาว กระนั้นกับครอบครัวไวท์ที่มีเพียงแม่กับลูกสาวดูจะไม่ใช่แบบนั้น

เลยเมื่อคนที่เป็นแม่ดันบ้าศาสนาเข้าเส้นจนมองว่าการมีประจำเดือนคือบาปที่ทำให้ลูกสาวกลายเป็นเหยื่อของบรรดาผู้ชาย นี่จึงเป็นต้นเหตุที่ว่าแครี่เริ่มถูกตัดขาดจากโลกภายนอกมากขึ้นและยังโดนกลั่นแกล้งจากเพื่อนเสมอเพราะเธอคือตัวประหลาด แต่แครี่ไม่ใช่แบบนั้นเสมอไปเมื่อเธอเริ่มจะมีพลังจิตและจะแสดงออกมาเมื่ออารมณ์ของเธอแปรปรวน เมื่อไรที่คุมอารมณ์ไม่อยู่ก็เมื่อนั้นคงถึงคราวระบายอารมณ์ไม่เลิกรา

เนื้อเรื่องก็ดูจะวัยรุ่นๆซะหน่อยเพราะไม่ได้หันไปมุ่งประเด็นทางกลุ่มผู้ใหญ่มากนักแต่ก็ถือว่ายังมีรายละเอียดเก็บได้ครบดีในแง่การยอมรับของสังคม ตัวอย่างสายตาของอาจารย์ใหญ่ที่จะทำตาตกใจเมื่อเห็นเลือดเปื้อนกางกางของอาจารย์คอลลินส์ (Betty Buckley) ทั้งที่มันไม่น่าจะมีอะไรมากนัก แต่ก็ตระหนักได้ว่าเลือดดังกล่าวไม่ใช่เลือดที่ไหลจากบาดแผลหากหมายถึงเลือดที่ออกมาเพราะการมีประจำเดือน แน่นอนว่าแครี่ผู้พึ่งมีครั้งแรกยังคงตกใจด้วยความช็อกไม่เคยคาดคิดว่าก่อนว่าร่างกายจะขับเลือดด้วยวิธีนี้ได้แถมด้วยความไม่ทันคิดนี้เองที่ทำให้เธอกลัวจนเห็นเลือดแล้วนึกว่าตัวเองกำลังจะตายจนต้องขอความช่วยเหลือจากเพื่อนอย่างไม่ทันระวัง

ผลลัพธ์ที่ตามมาคือการโดนกลั่นแกล้งล้อเลียนอย่างหนักด้วยการผลักไสให้ไกลตัวเนื่องจากแครี่ยังมีเลือดติดอยู่เลย อีกทั้งมือที่ยังเลอะเลือดก็จับคนอื่นเพื่อขอความช่วยเหลือกลายเป็นสิ่งที่หลายคนรังเกียจไปแทน แครี่โดนแกล้งราวกับเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิตอย่างคนปกติ ไม่มีใครเข้าหานอกจากอยากออกจากตัวแครี่ แน่นอนว่าแครี่เองเข้าใจในความโดดเดียวนี้ดีและกำลังพยายามควบคุมอารมณ์ให้มากที่สุดเนื่องจากเธอรู้ตัวว่ามีพลังพิเศษที่ควบคุมอะไรก็ได้

ในวันที่โดนแกล้งเรื่องประจำเดือนจนเป็นที่อับอายไปทั่วนั้นบ่งบอกถึงอารมณ์เก็บกดอย่างชัดเจนผ่านพลังที่หลุดออกมาทั้งที่พยายามจะห้ามเพื่อไม่ให้ใครสังเกตในความผิดปกติ ส่วนหนึ่งมาจากความกดดันผ่านผู้ใหญ่ นั้นเพราะมุมมองในตัวผู้ใหญ่ดูเป็นดาบสองคมสำหรับตัวแครี่ที่เหมือนจ้องจะปรับเปลี่ยนชีวิตของเธอราวกับเด็กมีปัญหา ทว่ากับอาจารย์คอลลินส์ผู้พยายามใกล้ชิดตัวแครี่มากที่สุดไม่ได้คิดจะกดดันตัวแครี่แต่อย่างใดนอกจากให้กำลังเสมอแถมยังช่วยจัดการคนที่แกล้งอีกด้วย กระนั้นยังคงเป็นดาบสองคมที่ผลักดันให้เด็กเกลียดแครี่มากกว่าเดิมด้วยเหตุผลคืออาจารย์เข้าข้างแครี่

ทอมมี่ (William Katt) มาชวนไปงานเต้นรำหรืองานเลี้ยงรุ่นปีสุดท้าย เหตุผลของการมาชวนแครี่คือเรื่องตลกและแปลกประหลาดที่สุดจนไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ แต่ก็เกิดขึ้นจนได้จนเป็นเรื่องแปลกใจทั้งแครี่ที่ไม่เคยสัมผัสช่วงเวลาเช่นนี้มาก่อนกับทอมที่ไม่ได้คิดตั้งใจจะชวนเลยด้วยซ้ำเพราะเดิมทีคนที่คู่กับทอมคือซูอี สเนล (Amy Irving) แน่นอนว่าแครี่เข้าใจในเรื่องนี้อย่างหนึ่งว่าเธอคงกำลังโดนแกล้งให้อับอายอีกครั้งว่าจะชวนไปงานเนื่องจากคนที่เข้างานได้นั้นต้องมีสิทธิพิเศษคือต้องมีคู่ไปด้วยจึงจะอนุญาติเข้าได้ แล้วทำไมทอมถึงละทิ้งซูอีมากับแครี่ทั้งที่คนอื่นจะมองด้วยสายตาขบขันไปด้วยล่ะ คำตอบนี้คือคนที่ทำให้ทอมตกลงใจเรื่องนี้คือซูอีนั้นแหละ

อาจจะแปลกแต่คาแรกเตอร์ของซูอีจะเด่นชัดที่สุดในหมู่เพื่อนๆที่ไม่ได้จงเกลียดจงชังแครี่อะไรเลยสักนิดและยังมองเป็นเรื่องที่ควรจะรับผิดชอบด้วยซ้ำเวลาถูกทำโทษที่ไปทำร้ายจิตใจแครี่ทั้งที่ความจริงเธอเองไม่ได้มีเจตนาดังกล่าวเพียงแค่อยู่ในเหตุการณ์เสียมากกว่าแม้จะนึกตลกกับเรื่องที่เกิดขึ้นในห้องอาบน้ำเรื่องประจำเดือนครั้งของแครี่ ก็น่าแปลกที่คนเรามองการมีประจำเดือนในมุมมองแง่ลบเกินไปทั้งยังมีความคิดว่าทำไมไม่จัดการด้วยตัวเองให้เสร็จไปซะเล่า

หรือจะบอกว่าเรื่องแค่นี้ก็ยังไม่รู้อีกเหรอว่าควรทำยังไงทั้งที่ผู้หญิงทุกคนจะต้องเจอเป็นเรื่องปกติ ในแง่นัยยะการมีประตำเดือนคือการพ้นวัยอีกวัยหนึ่งไปสู่อีกวัยหนึ่งของเพศหญิงที่บ่งบอกถึงการมีลูกได้ ในขณะเดียวกันเสมือนการบอกความพร้อมที่จะมีเพศสัมพันธ์อย่างเต็มใจ ความเต็มใจในที่นี่หมายถึงเรื่องร่างกายที่พร้อมรับต่อการมีลูก นี้จึงเป็นประเด็นอย่างหนึ่งเกี่ยวกับแม่แครี่ว่าเพราะอะไรเธอถึงกลายเป็นคนที่เสียสติที่มุ่งแต่บ้าศาสนาเพราะปมในอดีตนั้นเอง

ย้อนกลับมาที่ซูอีที่ยอมสละไม่ไปร่วมงานแต่เลือกคุยกับทอมแล้วให้เขาไปกับแครี่จนต้องไปแม้ทีแรกจะไม่เต็มใจเลยก็ตาม ในจุดนี้เราจะค่อยๆเห็นด้านที่แตกต่างจากคนอื่นๆที่ห่างเหินแครี่แต่กับทอมพยายามเข้าหาแครี่เพื่อขอคำตกลงว่าสนใจจะไปร่วมงานเต้นรำหรือไม่ แล้วทำไมซูอีจึงอยากให้ทอมไปร่วมงานกับแครี่นักทั้งที่แครี่คือคนที่หลายคนพากันเดินหนี ประเด็นนี้ต้องมองไปที่ตัวอย่างแบบอาจารย์คอลลินส์ที่เข้าหาแครี่ตลอดและให้กำลังใจเสมอ

ด้วยภาพลักษณ์นี้เราจึงมองเห็นด้านที่มีความสุขของแครี่และมั่นใจว่าไม่ได้โดดเดี่ยวไปซะเสมอไป ดังนั้นซูอีที่มองต่างออกไปจึงเริ่มเข้าใจและคิดว่าเราควรจะช่วยมากกว่าทำให้แย่ลงจากที่เป็นอยู่เพราะเรื่องที่ทำเป็นเรื่องที่น่าละอาย คงไม่ต้องพูดถึงว่าการละอายเช่นนี้คือรูปแบบไหนเมื่อมีศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องเพราะถึงนี้คือการละอายต่อบาปที่ก่อ ตัวหนังใช้ศาสนาเข้ามามีเอี่ยวบ้างเล็กน้อยเพื่อต้องการถึงความพอดี ความถูกต้อง

และตระหนักในสิ่งที่ศาสนาคริสต์สอนคือจงรักเพื่อนร่วมโลก ซูอียอมสละเพื่อให้แครี่ได้มีโอกาสที่มีความสุขในการเข้างานเต้นรำทั้งที่เจ้าตัวเองก็ไม่คิดว่าชีวิตนี้จะมีเวลาเช่นนี้จริงๆได้ แต่เชื่อไหมว่านี้อาจเป็นแผนแกล้งแครี่ซึ่งหลังจากอาจารย์คอลลินส์ รู้เรื่องนี้และเรียกพบซูอีกับทอมทำให้รู้ว่าเรื่องที่ทำไม่ได้เกิดจากการแกล้งแต่เป็นเรื่องที่อยากช่วยจริงๆ สุดท้ายแล้วทอมก็ชวนแครี่จนเธอตอบตกลงได้สำเร็จ ในขณะที่เธอกำลังมีความสุขที่ได้ไปงานเต้นรำแต่ก็มีคนที่อดไปงานด้วยเช่นกัน

คนนั้นคือคริส ฮาเจนเซ็น (Nancy Allen) หนึ่งในคนที่แกล้งแครี่และอดไปงานเพราะทนถูกอาจารย์คอลลินส์ไม่ไหวเนื่องจากมันไร้เหตุผลที่ต้องมาทำเพียงเพราะแครี่มีประจำเดือนครั้งแรก แน่นอนว่านี่ไม่ใช่การกลั่นแกล้งครั้งแรกแต่ครั้งนี้จะเป็นการโฟกัสที่ชัดเจนที่สุดของการเอาคืน โดยตัวหนังจะนำเสนอในช่วงต้นๆว่าแครี่คือสาวน้อยผู้อ่อนต่อโลกและบอบบางจนน่าหดหู่ยิ่งนัก ทั้งยังมีการแสดงถึงพลังอย่างลับๆโดยไม่ให้ใครรู้แม้แต่แม่ตัวเอง แต่ภายหลังได้รับการช่วยเหลือถาพลักษณ์ที่ได้จึงดูมีระดับของความทุกข์และสุขที่พอๆกันในตัวแครี่ ยกเว้นเรื่องเดียวคือแม่ของเธอที่ไม่ฟังเสียงลูกเลยสักอย่างเดียว

Carrie อาจจะไม่ได้หนักแน่นทางเนื้อเรื่องอะไรมากนักซ้ำยังเติมแต่งจากคนธรรมดาให้มีพลังจนฟังดูไร้สมเหตุสมผลไปหน่อย แต่เป็นประเด็นอย่างหนึ่งที่หนังเขียนมาได้ดีในเมื่อมีพลังแล้วทำไมต้องกลัว ทำไมต้องปล่อยตัวเองถูกแกล้งจากเพื่อนๆที่มองไม่เห็นความเป็นคนนอกจากมองเป็นเรื่องสนุก

อะไรที่ทำให้คนมีพลังต้องอ่อนแอกว่าเป็นเรื่องที่สนใจเพราะคำตอบจะปรากฎในตอนท้ายเรื่องว่าแท้จริงแล้วพลังของแครี่ไม่ได้เกิดมาจากการป้องกันหรือใช้เพื่อทำให้ตัวเองสะดวก แต่พลังที่ควบคุมนั้นมาจากการระบายอารมณ์เต็มไปด้วยความแค้น ความอยาก แม้การระบายอารมณ์จะเป็นการปลดปล่อยและเป็นเรื่องที่ดีที่ไม่ต้องเก็บกด กระนั้นกับคนปกติคงอย่างมากแค่ร้องตะโกน เตะโน้นต่อยนี้ ไม่ได้เหมือนแครี่ที่ถูกพลังครอบงำอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัวและขาดสติบางครั้งที่ใช้พลัง

คงไม่ว่าอะไรถ้าจะชอบเรื่องนี้ที่ดูสดใหม่ดีในการเล่าเรื่องแบบคนปกติที่มีพลังและเสียดสีสภาพสังคมด้วยเปลือกและภายใน อ่ออีกอย่างมีนักแสดงที่คุ้นหน้าคุ้นตาคือ John Travolta ที่ยังคงเป็นหนุ่มหล่อมีคาแรกเตอร์กวนๆในเรื่องด้วยเช่นกัน เป็นหนึ่งตัวละครเด่นของเรื่องที่อาจเป็นแค่ตัวประกอบแต่ช่วยเพิ่มสีสันของหนังได้ดีทีเดียว ทีนี่เราจะมองหนังเรื่องนี้ยังไงก็แล้วแต่คงเก็บไปตระหนักคิดได้อย่างหนึ่งว่าการแกล้งคนนั้นอาจเป็นเรื่องที่สนุก

ซึ่งเจ้าตัวอาจขำไปด้วยแต่กับภายในใจเราบอกไม่ได้เลยว่าเขาคิดอะไรบ้าง บางคนเข้าใจว่าสนุกและขำกับบางคนอับอายและเดินหน้าหนี สิ่งเหล่านี้บางทีต้องมองที่สังคมว่ายอมรับด้วยหรือไม่ เพราะถ้าไม่ยอมรับกลายเป็นที่เล็งจากสายตาว่าน่ารังเกียจคงไม่พ้นการเป็นตัวประหลาดที่เก็บกดมากขึ้นและมากขึ้นเช่นเดียวกับแครี่ที่ใกล้จะทำสำเร็จยอมรับด้านที่มีความสุขจนกระทั่งเรื่องน่าขายหน้าเข้ามาแบบกระทันหันก็กลายเป็นจุดระเบิดในคราวเดียว

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *